ประวัติ สำนักเรียน


     สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม เป็นสำนักจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี ตั้งอยู่ ณ วัดโมลีโลกยาราม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ตั้งเป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรมตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๐/๒๕๓๔ วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๓๔
 

อรุณรุ่งแห่งการศึกษาพระปริยัติธรรม

วัดโมลีโลกยาราม ในยุคต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เคยเป็นสำนักเรียนที่มีการเรียน
พระปริยัติธรรมแผนกบาลีแบบสอบด้วยปากมาแล้ว ปรากฏว่ามีผู้สอบได้หลายท่าน
เช่น พระธรรมเจดีย์ (อยู่ เปรียญ ๔ ประโยค) และพระนิกรมมุนี (ชู เปรียญ ๘ ประโยค) โดยเฉพาะในยุคอดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ คือ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม)
ผู้แต่งฉันท์สดุดีคำถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งต้นด้วยคำว่า
ยํ ยํ เทวมนุสฺสานํ เป็นผู้ทรงภูมิบาลีชั้นเอก ครั้นเมื่อมีการปรับปรุงการศาสนศึกษา
แนวใหม่ โดยจัดตั้งหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ขึ้น เริ่มสอบมาแต่ปี ๒๔๕๕, ๒๔๖๐ และ ๒๔๖๕ ตามลำดับ และเปลี่ยนแปลงวิธีสอบบาลีด้วยปากมาเป็นสอบแบบข้อเขียน
ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี ๒๔๕๖ เป็นต้นมา ครั้นถึงปี ๒๔๖๙ จึงมีผู้สอบชั้นประโยค ป.ธ.๙ ได้เป็น
ปีแรก

    วัดโมลีโลกยาราม ได้รับภาระจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมตามแนวใหม่ทั้ง ๒ แบบ  โดยระยะแรกสำนักเรียนวัดมหาธาตุ ได้มอบให้พระประสิทธิศีลคุณ (จ้อย เปรียญ ๔ ประโยค แบบสอบด้วยปาก) นำพระเปรียญสำนักเรียนวัดมหาธาตุมาดำเนินการสอน เริ่มเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ และให้นักเรียนวัดโมลีโลกยาราม เข้าสอบในนามสำนักเรียนวัดมหาธาตุ ระยะแรก ผลการเรียนยังไม่เด่นชัดนัก ครั้น พ.ศ. ๒๔๖๔ โปรดให้พระประสิทธิศีลคุณ ย้ายมาครองวัดโมลีโลกยาราม (พ.ศ. ๒๔๖๔-๒๔๙๒) ท่านได้จัดการทั้ง ๒ แผนกอย่างเข้มแข็ง โดยสอนเองบ้าง จัดพระเปรียญอื่นช่วยสอนบ้าง โดยตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นเป็นหลักฐาน มีพระภิกษุสามเณรสอบนักธรรมและบาลีได้ในสนามหลวงมากขึ้นตามลำดับ เฉพาะที่ได้หลักฐานในแถลงการณ์คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๖๑-๒๔๗๖ มีผู้สอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก รวม ๑๙ รูป สอบบาลีได้ชั้นประโยค ป.ธ.๓-๔-๕ รวม ๒๓ รูป มีพระปลัดลมัย โกวิโท นามสกุล พีระพันธ์ ชาวบ้านฝั่งคลอง ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ต่อมา ท่านสอบได้ชั้นประโยค ป.ธ.๗ ในปี ๒๔๙๐ ได้เป็นกำลังสำคัญในการจัดการศึกษานักธรรมและบาลีประจำสำนักศาสนศึกษาวัดโมลีโลกยาราม (พ.ศ.๒๔๗๑-๒๔๙๙) มีศิษย์เอกที่ท่านสอนเป็นพยาน คือ พระมหาชาลี อุตฺตโร ป.ธ.๓ ต่อมาเป็น พระครูสังวรโมลี อดีตเจ้าอาวาส วัดโมลีโลกยาราม รูปที่ ๑๐  (พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๕๑๔)  พระมหาลมัย โกวิโท ได้รับภาระการเรียนการสอนของสำนักวัดโมลีโลกยาราม ทั้งเป็นกำลังสำคัญของมหาธาตุวิทยาลัย คือ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ เพราะต้องเป็นครูสอนชั้น ป.ธ.๔-๕-๖ ในมหาธาตุวิทยาลัย ถือว่าเป็นผลผลิตที่สำคัญของ พระประสิทธิศีลคุณ ผู้วางรากฐานการศาสนศึกษาไว้ ต่อมา วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ พระมหาลมัย ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสุขุมธรรมาจารย์ ในนามอาจารย์ประจำมหาธาตุวิทยาลัย ทั้งที่มิได้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสหรือตำแหน่งทางปกครองอื่นใดเลย ครั้น พ.ศ.๒๔๙๙ จึงโปรดให้ย้ายไปเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม มรณภาพเมื่อ วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๒๓  ส่วนพระมหาชาลี ผู้เป็นศิษย์ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม ต่อมาได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูสังวรโมลี" ได้จัดการศึกษาพระปริยัติธรรมสืบต่อจากอาจารย์อย่างไม่ลดละ สามารถมีศิษย์สืบทอดได้ เช่น พระมหาโสม ปญฺาวุฑฺโฒ ป.ธ.๗ สำนักศาสนศึกษาสำนักวัดโมลีโลกยาราม เข้าสอบในนามสำนักเรียนวัดมหาธาตุ ครั้นปี พ.ศ. ๒๕๐๖ พระมหามา ปสุโต สอบบาลีชั้นประโยค ป.ธ.๙ ได้ นับเป็น เปรียญธรรม ๙ ประโยค รูปแรกของวัดโมลีโลกยาราม

ระยะตั้งเป็นสำนักเรียน

    ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ พระครูสังวรโมลี (ชาลี อุตฺตโร ป.ธ.๓) ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส พระมหาโสม ปญฺาวุฑฺโฒ ป.ธ.๗ ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทน และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระรัตนมุนี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๖ ตั้งแต่รักษาการแทนเจ้าอาวาสเป็นต้นมา ได้รับภาระจัดการศึกษาต่อ โดยปรับปรุงระบบการเรียนการสอนให้ดีขึ้น เพื่อรองรับการศึกษา ท่านสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้น ๑ หลัง เป็นอาคารตึก ๒ ชั้น กว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๘ เมตร มีมุขยื่นกลาง ๕ เมตร เสร็จลงในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ครั้นปี พ.ศ. ๒๕๒๕ พระมหาฉลาด ปริญฺาโณ สอบบาลีชั้นประโยค ป.ธ.๙ ได้ ท่านรับภาระการเรียนการสอนในสำนักศาสนศึกษาแห่งนี้อย่างเข้มแข็ง ในระยะนี้สำนักยังจัดการเองแล้วส่งนักเรียนเข้าสอบในนามสำนักเรียนวัดมหาธาตุ

    ต่อมาปี ๒๕๓๔ เมื่อได้ปรับปรุงสำนักศาสนศึกษาดีขึ้นแล้ว จึงดำเนินการขอแยก
ตั้งเป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรม เพื่อจะทำให้สำนักเรียนมีความเจริญมั่นคงยิ่งขึ้น เพราะ
วัดอื่น ๆ ที่เคยขึ้นต่อสำนักเรียนวัดมหาธาตุ แยกตั้งสำนักเรียนตามลำดับ โดยได้ขอจัด
ตั้งสำนักเรียนผ่านเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์ตามลำดับ ถึงกรมการศาสนาเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๔ กรมการศาสนาได้นำเสนอมหาเถรสมาคม ในคราวประชุมครั้งที่
๒๐/๒๕๓๔ วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๓๔ ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้จัดตั้งเป็นสำนักเรียน
ตามที่ขอ กรมการศาสนาได้แจ้งเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๓๔

    เมื่อวัดโมลีโลกยารามได้เป็นสำนักเรียนแล้ว พระรัตนมุนี (โสม) เจ้าอาวาส จึงมีฐานะเป็นเจ้าสำนักเรียนรูปแรก และได้แต่งตั้งพระมหาฉลาด ปริญฺาโณ ป.ธ.๙ เป็นอาจารย์ใหญ่รูปแรก ในปีแรกที่ส่งนักเรียนเข้าสอบในนามสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม
คือปี พ.ศ. ๒๕๓๕ มีผู้สอบได้พอสมควร และเป็นนิมิตหมายอันดียิ่งที่ สามเณรประยูร ป้อมสุวรรณ สอบได้ชั้นประโยค ป.ธ.๙ ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์อุปสมบทเป็นนาคหลวงรูปแรกของสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม จากนั้นการเรียนการสอนและผลการเรียนอยู่ในระดับพอสมควรเพียงระยะหนึ่ง ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งส่งเข้าสอบปี ๒๕๓๙ ผลการเรียนการสอบลดลงอย่างน่าวิตก เพราะปี ๒๕๓๙ สอบบาลีได้ ๓ รูป ปี ๒๕๔๐ สอบได้เพียง
๒ รูป ทั้งนี้ คงเป็นเพราะพระภิกษุสามเณรผู้อยู่ในวัยเรียนสนใจเรียนสายสามัญมากกว่าพระปริยัติธรรม กอปรทั้งพระรัตนมุนี เจ้าสำนักเรียน เริ่มอาพาธและมรณภาพลงเมื่อวันที่
๘ กันยายน ๒๕๓๙ แม้พระศรีปริยัตยาภรณ์ (ฉลาด) ซึ่งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส
และรักษาการแทนเจ้าสำนักเรียน จะตั้งใจรับภาระอย่างเต็มที่ แต่ก็อาพาธซ้ำอีก จึงเป็น
เหตุให้ผลการเรียนขาดประสิทธิภาพ

ระยะปรับปรุงและพัฒนาสำนักเรียน

ครั้นวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๐ พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษฎิ์ เจ้าคณะภาค ๑๐ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม ตามพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช มีฐานะเป็นเจ้าสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม อีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งนับเป็นเจ้าสำนักเรียนรูปที่ ๒ เมื่อได้ศึกษาเหตุผลแห่งความเสื่อมทรุดของสำนักเรียนแล้ว ต้องเร่งรัดแก้ไขโดยจัดให้มีการเรียนการสอนอย่างจริงจัง ทั้งที่วัดและที่ศูนย์สังฆศาสน์ธำรง ต.นนทรี อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ปี ๒๕๔๑ ซึ่งเป็นปีแรกที่ส่งนักเรียนเข้าสอบ มีนักเรียนเข้าสอบจริง ๓๑ รูป สอบได้ ๑๔ รูป และ พระมหาบุญเฮ็ง ปญฺาสิริ สอบได้ชั้นประโยค ป.ธ.๙ จึงทำให้สำนักเรียนเริ่มมีประสิทธิภาพขึ้น

    ในปี ๒๕๔๐ นั้น ได้กำหนดนโยบายสำนักเรียนวัดโมลีโลกยารามขึ้นเพื่อใช้เป็น
แนวทางบริหาร และปี ๒๕๔๒ ได้กำหนดแผนงานตามนโยบาย ได้เร่งรัดงานนี้มาตลอด
แผนงาน  ได้ปรับปรุงผู้บริหารและครูสอนให้เหมาะสม และรับศูนย์สังฆศาสน์ธำรงเป็นสำนักสาขา ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูงตามลำดับ จนกระทั่งปีพุทธศักราช ๒๕๕๐
สำนักเรียนวัดโมลีโลกยารามจึงมีผู้สอบได้เป็นอันดับ ๑ ของกรุงเทพมหานครติดอันดับ ๑
ใน ๕ ของประเทศ

    พระเทพปริยัติสุธีได้ทำการปรับปรุงพัฒนาสำนักเรียนนี้ ทั้งด้านวิชาการ และ
ด้านบุคลากร และงบประมาณ การเร่งรัดให้การเรียนการสอนได้มาตรฐานเพื่อคุณภาพ
ด้านบุคลากรได้แต่งตั้งพระมหาสมจิตร สมจิตฺโต ป.ธ.๙ เป็นอาจารย์ใหญ่  (พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๓)
ต่อมาปีพุทธศักราช ๒๕๔๔ ได้แต่งตั้งพระมหาสุทัศน์ วรทสฺสี ป.ธ.๙ เป็นอาจารย์ใหญ่สืบต่อมา

    อนึ่ง ด้านบุคลากรนั้น ท่านได้นำคณะพระภิกษุสามเณรอนุจรมาจากวัดมหาธาตุ
ในวันพุธที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๐ ท่านเหล่านี้ได้เป็นกำลังสำคัญในการบุกเบิกปรับปรุงสำนักเรียนแห่งนี้ ซึ่งควรนำมากล่าวยกย่องเชิดชู ดังนี้

 

ที่

ชื่อ ฉายา/นามสกุล

อายุ   

   พรรษา  

 วิทยฐานะ 

  

หมายเหตุ

 

 

 

 

ป.ธ.

น.ธ.

 

พระมหาสมจิตร  สมจิตฺโต

๓๗

๑๗

เอก

 

 พระครูอุดมธรรมานุกูล อุตฺตโม    

๔๒

๑๕

-

เอก

ขอจำพรรษาสมทบ

พระมหาสถาพร  ถิรจิตฺโต

๒๘

เอก

 

    พระมหาสุริโย   อุตฺตมเมธี

๒๖

เอก

         ศึกษาต่อที่ประเทศอินเดีย

พระมหาสุทัศน์  วรทสฺสี

๒๕

เอก

            หัวหน้าศูนย์สังฆศาสน์ธำรง

พระมหาธีรพงษ์  วรญฺญู

๒๕

เอก

 

พระมหาบุญเฮ็ง   ปญฺญาสิริ

๒๔

เอก

 

พระมหาชัยณรงค์ วรญฺชโย

๒๔

เอก

 

พระมหาประเวช  สิริจนฺโท

๒๓

เอก

 

๑๐

พระมหาส่ง  พุทฺธิวโร

๒๒

เอก

 

๑๑

พระมหาประกอบ  วรวุฑฺฒิ

๒๒

เอก

 

๑๒

     พระมหารัตนะ กาญฺจนธาตา

๒๑

เอก

 

๑๓

สามเณรเดือน   งามเกิด

๑๘

-

เอก

 

๑๔

สามเณรอุดม    นุพันธ์

๑๗

-

เอก

 

๑๕

   สามเณรพรชัย    หะพินรัมย์

๑๖

-

เอก

 

    ด้านงบประมาณนี้ เนื่องจากเป็นสำนักเรียนที่ยากจน มีการปรับปรุงสถานศึกษา จึงทำได้ลำบาก จึงต้องอาศัยศาลาบ้าง ใต้ถุนกุฎิบ้าง เป็นสถานที่เรียน เพราะห้องเรียน
ไม่เพียงพอ

    ในยุคของพระเทพปริยัติสุธีนี้ ถือเป็นยุครุ่งเรืองของสำนักเรียนเพราะมีผู้สอบบาลีได้จำนวนมากเกือบ ๙๐ รูป ในแต่ละปี ในยุคที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส มีเปรียญธรรม ๙ ประโยค
ถึง ๓๒ รูป มีสามเณรนาคหลวง ๕ รูป

    ในยุคของพระเมธีวราภรณ์ (สุทัศน์)ได้สืบสานปณิธานต่อจากพระพรหมกวี
(วรวิทย์) ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้จัดการเรียนการสอนอย่างเข้มแข็งเข้มข้นจริงจัง
มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์สำคัญซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในยุคก่อน คือ
มีพระภิกษุสามเณรเข้ามาจำพรรษาเพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกบาลีและ
แผนกธรรมมากกว่า ๔๐๐ รูป ประการหนึ่ง มีผู้สอบพระปริยัติธรรมแผนกบาลีได้มากกว่า ๒๐๐ รูป ประการหนึ่ง นับเป็นยุคทองแห่งการพัฒนาศึกษาพระปริยัติธรรมอีกยุคหนึ่งของสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม

          พระเมธีวราภรณ์ได้บริหารการศึกษาของสำนักเรียนอย่างเป็นระบบทั้งสอนเองและกำกับดูแลการสอนของคณะครูอย่างใกล้ชิด มีการวัดผลอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีผู้สอบบาลีได้มากถึง ๑๐๐- ๒๐๐ รูปในแต่ละปี นับว่ามากที่สุดในกรุงเทพมหานคร บางปีสามารถสอบได้มากเป็นอันดับ ๑ ของประเทศเลยทีเดียว

    นอกจากจะจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีแก่พระภิกษุสามเณรแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ฆราวาสเข้ามาเรียนบาลี โดยจัดตั้ง ìมหาบาลีวิชชาลัยî ขึ้นภายในวัด ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ฆราวาสสามารถอ่านคำบาลีได้อย่างถูกต้อง และแปลภาษาบาลีเบื้องต้นได้ นอกจากนั้น ฆราวาสผู้ต้องการสอบบาลีศึกษาชั้นต่างๆสามารถเข้าศึกษาได้เช่นกัน มุ่งหวังให้ฆราวาสได้ศึกษาบาลีเป็นประเพณี นับเป็นมิติใหม่ของ
การศึกษาบาลีสำหรับฆราวาส

    "แม้กาลเวลาจะผ่านพ้นไป การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมของสำนักเรียน
วัดโมลีโลกยารามแห่งนี้ก็ยังคงดำเนินต่อไป เพื่อสร้างศาสนทายาทพัฒนาบุคลากรของ
พระศาสนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง "


- สำนักงานเจ้าคณะภาค 9
- มหาบาลีวิชชาลัย
- คณะสงฆ์ภาค 10
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ประกาศรับสมัครครู
วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
โทร. 0-2472-8147 มือถือ 089-660-1464 แฟกซ์. 0-2472-8147
แผนที่วัดโมลีโลกยาราม | พัฒนาเว็บไซต์โดย schooljob.in.th หางานโรงเรียน สมัครเป็นครู ทุกสาขาทั่วไทย